วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ       ศีลธรรม : ศีล คือข้อห้ามตามความรู้สึกคนทั่วไป + ธรรมะทางพระพุทธศาสนา
ศีลธรรมก็คือ ข้อบัญญัติที่กำหนดทางปฏิบัติกายวาจา ทางพุทธศาสนา อาทิเช่น ศีล 5 ศีล 8  ดังนั้นศีลธรรมหมายถึง หลักแห่งความประพฤติดีประพฤติชอบอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนา
                จารีตประเพณี : คือประเพณีที่นิยมและประพฤติปฏิบัติที่สืบทอดกันมาช้านานและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมปัจจุบันนี้ด้วย และจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองหรือศีลธรรมอันดีทั้งหลายของคนในสังคม ซึ่งจารีตประเพณีนั้นจะต้องเป็นจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น เช่น งานประเพณีแห่พระแข่งเรือ เป็นประเพณีเก่าแก่ของอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งประเพณีแห่พระแข่งเรือ มีมากกว่า ๑๐๐ ปีมาแล้ว
                กฎหมาย : คือเป็นกฎเกณฑ์ หรือข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของคนในสังคมหรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ ซึ่งกฎหมาย จะมีลักษณะเป็นคำสั่ง ข้อห้ามที่มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคม เช่น คสช โดยจะใช้บังคับได้ทั่วไป ใครที่ฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง
                ดังนั้น ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมายมีความเหมือนกันตรงที่มีความหมายหรือคำนิยามที่ให้คนทุกคนอยู่ในความประพฤติที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบส่วนข้อที่แตกต่างกันอย่างสำคัญเลยก็คือ บทลงโทษของผู้ฝ่าฝืน ซึ่งในส่วนของกฎหมายนั้นเมื่อมีบุคคลกระทำความผิดก็จะต้องได้รับบทลงโทษที่ชัดเจนแน่นอน ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ในขณะที่ศาสนาหรือศีลธรรมนั้น ผู้ฝ่าฝืนย่อมไม่ได้รับผลร้ายในทางกายภาพอย่างแน่นอนชัดเจน คงจะมีแต่เพียงความเชื่อที่ว่าผู้ฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายในแง่ของจิตใจหรือจิตวิญาญาณ ที่เราเรียกกันว่า เคราะห์กรรมแต่เพียงเท่านั้น

2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร มีการจัดอย่างไร โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ตอบ       ศักดิ์ของกฎหมาย คือ ลำดับชั้นของกฎหมาย หรือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน
                การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น  ออกเป็น  7  ประเภท  ดังนี้
1.  รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายใดไม่วามารถขัดแย้งได้ โดยรัฐธรรมนูญจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง สิทธิเสรีภาพของประชาชน
2.  พระราชบัญญัติและประมวลกฏหมาย เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้อนุญาต ซึ่งได้คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
3.  พระราชกำหนด เป็นกฎหมายหรือพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์เท่ากับพระราชบัญญัติทุกประการ ต่างกันแต่วิธีการตรากฎหมายเท่านั้น
4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ เช่นพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโอการได้
5. พระราชกฤษฎีกา เป็นบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะมีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
6. กฎกระทรวง เป็นบทบัญญัติหรือกฎหมายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเสนาบดีกระทรวงหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (ในปัจจุบัน) เป็นผู้ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกำหนด หรือ ประมวลกฎหมาย โดยที่กฎกระทรวงนี้จะต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายอื่นๆ
 7.  ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล กรุงเทพมหานคร     เมืองพัทยา เป็นต้น
8.  เทศบัญญัติเป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล การแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3 ระดับคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร

3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้ ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า "วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก (เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป"
จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
ตอบ ในฐานะดิฉันเป็นนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษา ดิฉันมีความคิดเห็นว่าในการสอนเด็กนักเรียน ซึ่งยังมีอายุแค่ 6ขวบนั้น ซึ่งเด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่ผ่านโรงเรียนระดับอนุบาลมาแล้ว บางคนอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการปรับตัวในการเรียนระดับประถม เพราะในระดับอนุบาลไม่ต้องเรียนอะไรมาก ดังนั้นในการสอนที่ดีควรจะค่อยเป็นค่อยไปเรื่อย สอนวันละนิดๆแต่ต้องสอนย้ำๆสอนทุกวัน สอนให้นักเรียนได้ฝึกเขียน ฝึกอ่านและฝึกพูดไปเรื่อยๆ แล้วนักเรียนก็จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
                และการที่ครูจะเป็นที่รักแก่ศิษย์ได้นั้น ก็ควรตั้งตนอยู่ในพรหมวิหาร 4 คือ 1)มีเมตตา ปรารถนาดีต่อศิษย์ 2)มีกรุณา สงสาร เอ็นดูศิษย์ อยากช่วยเหลือให้ศิษย์ได้เรียนหนังสือที่เก่งขึ้น  3)มีมุทิตา คือ ชื่นชมยินดีเมื่อศิษย์ได้ดี และ4)มีอุเบกขา คือ วางตัวเป็นกลาง จิตใจที่ตั้งอยู่ในความยุติธรรม ไม่ลำเอียง ไม่มีอคติ ด้วยเพียงเท่านี้ก็จะไม่เกิดปัญหาทั้งครูและนักเรียน

4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ วิเคราะห์  SWOT ตัวเอง
จุดแข็ง
-                   มีความอดทนในการทำงานมาก
-                   ใจเย็น ไม่วู่วาม สามารถทำงานในสภาวะกดดันได้
-                   ตรงเวลาและมักจะไปก่อนเวลาที่กำหนด
-                   มีความซื่อสัตย์ สุจริต
-                   มีน้ำใจ พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ
จุดอ่อน
-                   ตื่นเต้นได้ง่ายเมื่อจะต้องนำเสนองาน หรือพูดหน้าเสาธงชาติ
-                   ไม่ค่อยกล้าแสดงออก
-                   ไม่มีความรอบคอบ
โอกาส
-                   มีความครอบครัวที่อบอุ่น ดูแลใส่ใจกันเสมอ
-                   ทางครอบครัวสนับสนุนให้เรียนต่อ และส่งต่อให้เรียนจบปริญญาตรี
-                   มีญาติที่เรียนคณะครุศาสตร์ซึ่งตรงกับที่ดิฉันเรียนอยู่ขนาดนี้
-                   มีเพื่อนที่ดี รักและเข้าใจในตัวเรา
อุปสรรค
-                   ในการสอบบรรจุจะมีคู่แข่งเยอะมาก หลากหลายสถาบันทั่วประเทศ
-                   ทางครอบครัวต้องส่งเงินให้น้องๆ ซึ่งขนาดนี้เรียนทุกคนและในระดับที่สูงขึ้น

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)

ตอบ  สำหรับดิฉันคิดว่าการนำเทคโนโลยีเว็บบล็อกมาให้นักเรียนส่งงาน ถือว่าเป็นสิ่งดีในการช่วยประหยัดกระดาษในการนำมาใช้ และอีกอย่างหนึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีมันมีอิทธิพลต่อนักศึกษาและนักเรียนในยุคปัจจุบันมาก ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้รู้จักการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ได้เพิ่มทักษะทางด้านการใช้เทคโนโลยี ซึ่งในการได้เรียนรู้ด้วยตนเองนั้นจะยิ่งทำให้ความรู้นั้นคงทนยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางในจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในภายภาคหน้าอีกด้วยด้วยซึ่งอาจารย์ผู้สอนก็ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอนเพื่อให้เกิดความรู้ที่เกิดประโยชน์ได้สูงสุด ซึ่งถือเป็นสิ่งดีมากๆ

อนุทินที่ 8


สรุปจากการที่ได้อบรม เรื่อง SWOT
โดยอาจารย์ ดร.วนิดา  ชุมนุม เมื่อวันที่ 24/3/2560

SWOT เป็นหลักการวิเคราะห์รูปแบบหนึ่ง ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายโดยจะใช้ในการประเมินสถานการณ์และวางแผนกลยุทธ์ รวมทั้งตรวจสอบสภาพองค์กรทั้งภายในและภายนอก โดยจะทำการวิเคราะห์ข้อมูล 4 อย่างด้วยกันคือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เพื่อแก้ไขปัญหาภายในและภายนอกขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น SWOT เป็นตัวย่อของข้อความที่มีความหมายดังนี้
Strengths             หมายถึง                จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses         หมายถึง                จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities      หมายถึง                โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats                 หมายถึง                อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 7

1. เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็บเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 6

แบบฝึกหัดทบทวน

จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ตอบ       ก. การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม
ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา
ค. การศึกษาตลอดชีวิต คือ การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ง. มาตรฐานการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม และกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
จ. การประกันคุณภาพภายใน คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั่นเอง หรือโดย หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
ช. การประกันคุณภาพภายนอก คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา หรือบุคคล หรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการ ประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระบบและกลไก หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆที่มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกัน อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร กฏเกณฑ์ มาตรการ แนวปฏิบัติ และปัจจัยต่างๆ เป็น กลไกให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย

อนุทินที่ 5


เจ้าคณะปทุมธานี ออกคำสั่ง พระ-เณร กลับวัดต้นสังกัด
เว็ปข่าว Sanook! News โพสต์เมื่อวันที่ 4 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560




ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวกรณีวัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานีในวันนี้นั้น ล่าสุดเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งให้พระและเณรที่มาชุมนุมเดินทางกลับวัดทันที โดยพระเทพรัตนสุธี เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ได้ออกประกาศเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ลงวันที่ 4 มี.ค. 2560 เรื่องให้พระภิกษุสามเณรกลับไปปฏิบัติศาสนกิจในสังกัดเดิมของตน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายกับวัดพระธรรมกายตลอดจนพื้นที่โดยรอบ เป็นไปตามคำสั่งคสช.ที่5/2560 เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีจึงมีประกาศดังต่อไปนี้

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 4

แบบฝึกหัดทบทวน

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ   ผู้ที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ อยู่ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
เหตุผลที่ขอ คือ คณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนา ประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดีสมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา คือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 3

ข่าวเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา


ร้อง ตร.เอาผิดครู รร.ดังประจวบฯ ลงโทษ นร.รุนแรงเกินเหตุ (เว็บไซต์สำนักข่าวไทย 24 พ.ย. 56 (06:45 น.))